วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรม ProShow Gold 3.2.2047

คู่มือการใช้โปรแกรม ProShow Gold 3.2.2047 (ส่วนที่1)


รูปภาพ 1แสดงการเข้าสู่โปรแกรม

การเข้าสู่โปรแกรม ProShow Gold 3.2.2047
1. คลิกที่ Start
2. เลือก All Program
3. เลือก ProShow Gold


รูปภาพ 2 แสดงหน้าต่างของโปรแกรม
เมื่อเข้าสู่โปรแกรมแล้วก็จะแสดงหน้าต่างของโปรแกรมรูปข้างต้น

เครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม ProShow Gold 3.2.2047

เพื่อปิดสไลด์ที่ใช้อยู่หรือสร้างสไลด์ใหม่


เพื่อเปิดไฟล์วิดีโอที่มีการบันทึกหรือสร้างไว้ก่อนแล้วเพื่อทำการปรับปรุงและแก้ไข


เพื่อบันทึกไฟล์วิดีโอที่สร้างแล้วผู้ใช้ต้องการนำกลับมาแก้ไขอีกในครั้งต่อไป
เพื่อต้องการดูไฟล์วิดีโอที่สร้างขึ้นว่ามีรูปแบบอย่างไร

เพื่อเลือกรูปภาพที่ต้องการให้แสดง

เพื่อกำหนดลักษณะต่างๆ ให้กับ Slide ให้ตรงกับตามต้องการของแต่ละบุคคล

เพื่อใช้ในการกำหนดเวลาแสดงรูปภาพใน Slide List

เพื่อการกำหนดรูปภาพหรือไฟล์วิดีโอ
เพื่อทำการแก้ไขรูปภาพ

เพื่อ Zoom และ Ratate ให้กับรูปภาพ

เพื่อกำหนดข้อความให้แสดงอยู่บนรูปภาพ

เพื่อกำหนด Background ให้กับรูปภาพโดยมีให้เลือกทั้งลักษณะสีและรูปภาพต่างๆ ตามที่ต้องการ
เพื่อใส่เสียงเพลงลงกับไฟล์วิดีโอ

เพื่อใส่เสียงที่บันทึกลงในไฟล์วิดีโอ

เพื่อทำการสร้างไฟล์วิดีโอให้อยู่ในรูปแบบต่างๆหรือเป็นการบันทึกไฟล์วิดีโอที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วให้อยู่ในลักษณะต่างๆ เช่น DVD, Video file, web show, Autorun CD เป็นต้น

การเลือกใช้เครื่องต่างๆ ที่แถบเครื่องมือ
1. เลือก New


รูปภาพ 3 แสดงการเลือก New ที่ในกรณีที่ไม่มีไฟล์

1.1 กรณีที่ไม่มี Slide Show เมื่อเลือกที่ New จะปรากฏไดอะล็อก New Slide Show เพื่อทำการกำหนด Title ที่อยู่ในตำแหน่งด้านล่างของแถบเครื่องมือตามที่ต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อนแล้วให้คลิก Ok


รูปภาพ 4 แสดงการเลือก New ในกรณีที่มีไฟล์อยู่แล้ว

1.2 กรณีที่มี Slide Show อยู่แล้วแต่ยังไม่ทำการบันทึกใดๆ เมื่อเลือก New จะปรากฏไดอะล็อก Save File เพื่อทำการบันทึกก่อน หลังจากที่ทำการบันทึกเรียบร้อยแล้ว ก็จะให้กำหนด Title เหมือนกับ ข้อ 1.1
2. เลือก Open


รูปภาพ 5 แสดงการเลือกแถบเครื่องมือ Open

เมื่อเลือก Open ที่แถบเครื่องมือจะปรากฏไดอะล็อก Open Show File เพื่อให้เราเลือกว่าต้องการที่จะเปิดไฟล์ไฟล์วิดีโอชื่อว่าอะไรและอยู่ในตำแหน่งใด
3. เลือก Save


รูปภาพ 6 แสดงการเลือกแถบเครื่องมือ Save

ในการบันทึกด้วยวิธีการนี้เราสามารถที่จะนำกลับมาแก้ไขได้อีก โดยการบันทึกไฟล์ให้เป็นนามสกุลเป็น .psh
4. เลือก Play


รูปภาพ 7 แสดงการเลือกแถบเครื่องมือ Play

เพื่อเล่นไฟล์ไฟล์วิดีโอต่างๆ ที่ทำการสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างและสามารถทำการแก้ไขปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการได้

5. เลือก Option

รูปภาพ 8 แสดงการเลือกแถบเครื่องมือ Option

เมื่อเลือก Option ในแถบเครื่องมือ จะปรากฏไดอะล็อก Show Option ซึ่งทางด้านซ้ายมือจะมีเครื่องมือต่างๆ คือ Show Option, Show Caption, Soundtrack, Background และสามารถที่จะเลือกเครื่องมือต่างๆ ได้เหมือนกับการเลือกเครื่องมือที่แถบเครื่องมือ

ส่วนที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่2 นางสาวดวงนภา ขุนอักเขต http://duangnapa-khunakkhet.blogspot.com/
ส่วนที่3 นางสาวอาอีฉะ เทศอาเส็น http://www.ar-e-chah.blogspot.com/


วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

*** การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย ***


ปัจจุบันคนไทยเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งกำลังมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอิทธิพลต่อการศึกษาของไทย ซึ่งไทยควรจะมีการจัดทำสื่อเพื่อเตรียมบุคลากรทางการศึกษา คือ ครูและผู้บริหารการศึกษาให้ก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตระหนักถึงการเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีมัลติมีเดียกับการศึกษา และบทบาทของครูกับนักเรียนเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
เมื่อกล่าวถึงมัลติมีเดีย จะเป็นสิ่งที่กว้างมาก เนื่องจากว่ามัลติมีเดียเกิดจากการนำภาพ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอมาผสมผสานเข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากว่าปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์กำลังเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าหากได้ยินใครกล่าวถึงมัลติมีเดียคนทั่วไปมักจะนึกถึงคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด แต่ก็ได้มีนักการศึกษาหลาย ๆ ท่านได้ให้ความหมายของมัลติมีเดียไว้ดังนี้
มัลติมีเดีย หมายถึง การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ (ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2546)
มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียงและวิดีทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวิดีทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์(InteractiveMultimedia) (Vaughan. 1993)
มัลติมีเดีย คือโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วิดีทัศน์ (Full motion Video) (Hall. 1996)
เนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วไปเพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่ายให้ทั้งภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว และในสถานศึกษาต่าง ๆ ก็จะจัดให้ผู้เรียนได้เรียนคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นทุกวันนี้คอมพิวเตอร์จึงได้เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และเนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายคอมพิวเตอร์ในส่วนของมัลติมีเดียทางการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาได้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่รู้จักกันดี เช่น e – learning โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าทั้ง e – learning และ CAI ต่างก็เป็นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการนำเอาภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ มาผสมผสานกันเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งของผู้เรียน ทำให้เนื้อหาของบทเรียนมีความน่าสนใจ น่าศึกษามากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลมัลติมีเดียทางการศึกษาขนาดใหญ่ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ระหว่างกันเองได้
นอกจากระบบการศึกษาจะต้องเตรียมตัวรับกับความก้าวหน้าของมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์แล้ว ครูในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียก็จะต้องเตรียมความพร้อมให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีทั้งในเรื่องของวิธีการใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถควบคุมและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างสื่อต่างๆได้ ครูจะต้องเป็นผู้ที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอในการที่จะขวนขวายหาความรู้และทำความเข้าใจการใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย เร้าความสนใจเด็ก
ดังนั้นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในการลดภาระงานสอนและประหยัดเวลาของ ผู้สอน และนอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้เรียนได้เลือกเข้าไปศึกษาได้ตามความสนใจ ทุกที่ ทุกเวลาโดยไม่จำกัด สามารถฝึกได้ตลอดจนเกิดความชำนาญ และช่วยให้ระบบการจัดการศึกษามีความน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย